มหาชาติ เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก
ประวัติผู้แต่ง
มหาเวสสันดรชาดก มีผู้นิยมแต่งมากมาย กัณฑ์ละหลายสำนวน ในที่นี้จะกล่าวถึงผู้แต่งร่ายยาว
มหาเวสสันดรชาดก เป็นตัวอย่าง ๔ กัณฑ์ จากทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์
๑ สำนักวัดถนน - กัณฑ์ทานกัณฑ์
เรื่องผู้แต่งกัณฑ์ทานกัณฑ์นี้ นายทองคำ อ่อนทับทิม มรรคนายกวัดถนน กับนายเสงี่ยม คงตระกูล ได้สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ในละแวกบ้านใกล้วัดถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งยายสมบูรณ์ สุปญสันธ์ อายุ ๙๐ ปี เศษ พอจะทราบเค้าประวัติของท่านผู้แต่งว่า ชื่อ ทองอยู่ เกิดที่บ้านไผ่จำศีล อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง (เดิมอำเภอนี้เป็นที่ตั้งตัวเมืองวิเศษไชยชาญ) ปีเกิดของท่านประมาณ พ.ศ.๒๓๐๐ คือ ปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่ออายุประมาณ ๘-๙ ขวบ ได้ไปศึกษาเล่าเรียนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ไม่ทราบว่าอยู่วัดอะไร เมื่ออายุประมาณ ๑๐-๑๑ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ประจวบกับกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ประชาชนอพยพหนีภัยสงครามไปอยู่ตามชนบท ในกรุงศรีอยุธยาเกิดขัดสนเสบียงอาหาร สามเณรทองอยู่จึงจำเป็นต้องเดินทางกลับบ้านเกิด คือ ตำบลไผ่จำศีล การเดินทางในครั้งนั้นต้องเดินทางผ่านวัดภูเขาทอง อำเภอกรุงเก่า มาบ้านกุ่ม ผ่านบ้านบางชะนีซึ่งเป็นตำบลติดกับบ้านเลน ตำบลโผงเผง ที่บ้านนี้มีวัดอยู่วัดหนึ่ง เรียกว่า “วัดถนน” สามเณรทองอยู่ได้พักที่วัดนี้ ในขณะนั้นวัดถนนเกือบจะเป็นวัดร้าง มีสามเณรรูปหนึ่งคอยดูแลรักษา เณรรูปนี้ได้ชวนสามเณรทองอยู่มาอยู่ด้วยกัน แต่สามเณรทองอยู่ผัดว่าขออุปสมบทเป็นพระภิกษุก่อน ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๑ หรือ ๒๓๒๒ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ท่านจึงได้อุปสมบทและมาอยู่วัดถนนนี้
ท่านทองอยู่นับว่าเป็นสถาปนิกชั้นเยี่ยมท่านหนึ่ง ท่านจึงได้สร้างเจดีย์ไว้องค์หนึ่ง ซึ่งเวลานี้นับว่าเป็นเจดีย์ที่งดงามปรากฏอยู่หน้าพระวิหารวัดถนน ถึงกับมีผู้มาวาดรูปไปเป็นแบบก่อสร้าง ในด้านวรรณกรรม นอกจากท่านได้แต่งร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทานกัณฑ์แล้ว ยังแต่งบททำขวัญนาคไว้อย่างไพเราะอีกด้วย
๒ สำนักวัดสังข์กระจาย - กัณฑ์ชูชก
ส่วนท่านผู้แต่งกัณฑ์ชูชกซึ่งเรียกว่า สำนักวัดสังข์กระจาย นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า คือ พระเทพมุนี (ด้วง) แต่ประวัติของพระเทพมุนี (ด้วง) ไม่เป็นที่ทราบกันมากนัก ทราบแต่ว่าท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสังข์กระจาย และเป็นที่ทราบว่าท่านเป็นผู้คงแก่เรียน มีความรู้ความสามารถยิ่ง
ใน พ.ศ. ๒๓๓๒ คราวเกิดอสุนีบาตตกต้องมุขพระที่นั่งอินทราภิเศกมหาปราสาท (ปัจจุบันคือพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท) ติดเป็นเพลิงไหม้ ขึ้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระแสงของ้าวเร่งข้าราชการดับเพลิงจนสงบ แล้วทรงปริวิตกว่าเห็นจะเป็นอัปมงคลนิมิตแก่บ้านเมือง พระราชาคณะที่เป็นปราชญ์ มีความชำนาญทั้งพุทธศาสตร์และโหราศาสคร์ ต่างได้ลงชื่อถวายชัยมงคลให้เบาพระทัยว่าไม่เป็นอัปมงคลแต่อย่างใด หากจะเป็นความปราชัยบังเกิดแก่ศัตรูในภายหน้า ซึ่งรายนามพระสงข์ที่ถวายพระพรครั้งนั้นมีพระเทพมุนีวัดสังข์กระจายด้วยรูปหนึ่ง นอกจากนี้ พระเทพมุนีรูปนี้ยังเคยถวายเทศน์กัณฑ์ชูชกในรัชกาลที่ ๑ ทั้งยังเคยถวายแก้ข้อกังขาปัญหาธรรมและพระราชปุจฉาในรัชกาลที่ ๑ อีกด้วย
๓ พระเทพโมลี (กลิ่น) - กัณฑ์มหาพน
ระเทพโมลี เป็นนามสมณศักดิ์ นามเดิมว่า กลิ่น ประวัติของท่านไม่ทราบแน่ชัดทราบแต่เพียงว่ามีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นภิกษุประจำสำนักวัดราชสิทธาราม(วัดพลับธนบุรี) ได้เล่าเรียนพนะปริยัติธรรมอย่างกว้างขวางจนสอบไล่ได้ชั้นเปรียญ ได้เป็นพระรัตนมุนีในรัชกาลที่ ๒ และเป็นพระเทฑโมลีในรัชกาลที่ ๓ ส่วนงานด้านวรรณคดี คือ แต่ง (ซ่อม) มหาชาติคำหลวง กัณฑ์ทานกัณฑ์ และแต่งร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มหาพน
๔ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) - กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี
ครั้นต่อมา ตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลังว่างลง จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาพิพัฒนโกษาขึ้นเป็นเจ้าพระยาคลังแทน เจ้าพระยาพระคลัง (หน) มีบุตรหลายคน แต่ไม่ได้รับราชการ บุตรชาย ๒ คน คนหนึ่งเป็นจินตกวี และอีกคนหนี่งเป็นครูพิณพาทย์ ส่วนบุตรหญิงคนหนึ่งคือเจ้าจอมมารดานิ่ม เป็นเจ้าจอมมารดาของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กระพระยาเดชาดิศร ในรัชกาลที่ ๒
จ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้แต่งมหาเวสสันดรที่เป็นมหาชาติกลอนเทศน์ มีลักษณะคำประพันธ์เป็นร่ายยาวที่มีคาถาบาลีนำ แต่งไว้ทั้งหมด ๒ กัณฑ์ คือ กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี โดยมีจุดประสงค์การแต่งเพื่อแสดงธรรมเทศนาให้อุบาสกและอุบาสิกาฟังในช่วงเข้าพรรษา